fbpx
สิ่งที่ควร “ทำ” ในการรับมือกับ เด็กสมาธิสั้น

วิธีการเลี้ยงเด็กสมาธิสั้น จะไม่ได้แตกต่างจากการเลี้ยงเด็กทั่วๆที่ไม่ได้เป็นสมาธิสั้นไปมากเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ทั้งนั่นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการด้วยว่าเป็นมากน้อยแค่ไหนเพราะแต่ละคนก็จะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างของเด็กสมาธิสั้นกับเด็กทั่วไปคือ

1.โครงสร้างของสมอง ​

โดยเด็กสมาธิสั้น มีขนาดของสมอง ส่วน “อะมิกดาลา (Amygdala)” และ “ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)” ​ที่เล็กกว่าสมองของเด็กทั่วไป ​

ซึ่ง​สมองส่วน “อะมิกดาลา (Amygdala)” เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับ “อารมณ์” เช่น กลัว โกรธ เศร้า เครียด ​ และสมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)” เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับ “ความทรงจำ” การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้น ให้เป็นระยะยาว ​

และยังพบว่า สมองส่วนหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นจะโตเต็มที่ในอัตราที่ช้าลง (ประมาณ 1-3 ปี)​


2.การทำงานของสมอง ​

โดยเด็กสมาธิสั้น มีการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยง ” สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ” ที่ลดลง ทำให้สมองส่วนนี้ทำงานได้น้อยลง ซึ่งสมองส่วนนี้ มีความสำคัญในเรื่องการ คิด วางแผน แก้ปัญหา ตัดสินใจ การมีสมาธิจดจ่อ รวมทั้ง การควบคุมอารมณ์ ยับยั้งชั่งใจ การอดใจรอและการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น กลัว โกรธ เศร้า​

ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ในปี 2010 พบว่า เด็กสมาธิสั้น ไม่มีการเชื่อมต่อของสมองส่วน “Frontal cortex” และ “Visual processing” ​ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีทักษะด้าน ‘การมองเห็น’ คือความสามารถในการจดจำและจัดการกับข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ที่แตกต่างจากเด็กที่ไม่ได้เป็นสมาธิสั้น​


3.สารเคมีในสมอง​

สมองจะทำการสื่อสารระหว่างเซลล์ได้โดยมี “สารสื่อประสาท หรือ สารเคมีในสมอง “ ที่ทำหน้าที่เป็น “Messenger” คอยรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ ​

ซึ่งในเด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติหรือเกิดความไม่สมดุลของสารเคมีที่ชื่อ “โดปามีน (Dopamine)” และ นอร์เอพิเนฟริน (Noreepinephrine) ซึ่ง อาจจะมีน้อยเกินไป,มีตัวรับไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ​

​หลักการจัดการพฤติกรรมบำบัด มี 2 หลักการ

1.)ส่งเสริมและให้รางวัลแก่พฤติกรรมที่ดี (การเสริมแรงทางบวก)
2.)งดการให้รางวัล ลงโทษเพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมไม่ดีอีก (การเสริมแรงทางลบ)

สิ่งที่ควรทำ ในการรับมือ “เด็กสมาธิสั้น”

1.สร้างนิสัย : โดยการจัดตารางเวลาของกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันอย่างเคร่งครัด แบ่งให้ชัดเจน เวลากิน เวลาทำการบ้าน เวลาเล่นทำกิจกรรม จนถึงเวลาเข้านอน หรืออาจมอบหมายหน้าที่เล็กๆ ให้เด็กทำตามความเหมาะสม อย่างเช่น ให้เตรียมเสื้อผ้าในวันถัดไป

2.ย่อย/แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ : อาจจะใช้กระดานไวท์บอร์ดเขียนด้วยปากกาสี เพื่อช่วยเตือนเด็กๆว่าต้องทำอะไรบ้างในแต่ละเวลา แบ่งย่อยเป็นช่วงเช้า บ่าย เย็น โดยอาจใช้สีที่แตกต่างกัน เช่น สีแดง หมายถึง สิ่งที่สำคัญ หรือ เร่งด่วน ควรรีบทำและจัดการให้เสร็จก่อนงานอื่นๆ

3.สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม : ควรจัดพื้นที่ภายในบ้านหรือสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เป็นระเบียบ สงบ ลดสิ่งรบกวนและความวุ่นวายต่างๆ เมื่อเด็กต้องใช้สมาธิในการทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กๆโฟกัสหรือจดจ่อกับสิ่งที่ทำ

4.จำกัดสื่อโซเชียลหรือสิ่งรบกวน : ไม่ว่าจะเป็น TV , สมาร์ทโฟน ,แท็บเล็ต,คอมพิวเตอร์ , เกมส์ ล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการหุนหันพลันแล่นได้ หากไม่ได้มีการควบคุมหรือจำกัดเวลาการใช้งาน พยายามลดเวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อให้เด็กๆปลดปล่อยพลัง

5.ส่งเสริมการออกกำลังกาย : การออกกำลังกายช่วยเผาพลาญพลังงานส่วนเกินและช่วยให้เด็กมีสมาธิจดจ่อเพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เครียด และอาการหุนหันพลันแล่นได้

6.เข้านอนเป็นเวลา : การนอนหลับเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กสมาธิสั้น ซึ่งหากเด็กๆนอนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่ดี จะส่งผลต่ออารมณ์ การคิดและสมาธิ ได้ เพื่อให้เด็กๆนอนหลับได้ดีและง่ายขึ้น ควรงดน้ำตาล สารกระตุ้นพวกคาเฟอีน และลดเวลาในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้เด็กๆรู้สึกผ่อนคลาย อาจจะอ่านหนังสือหรือนิทาน ที่เด็กๆชอบก่อนนอนก็ได้

7.ฝึกให้เด็กๆอดทนรอ : เด็กสมาธิสั้นจะขาดการควบคุมตัวเอง เวลาจะพูดหรือทำอะไรจะรอคอยไม่ได้ เช่น จะชอบพูดแทรก หรือ ไม่คิดให้รอบคอบก่อนพูดหรือทำ พยายามฝึกให้เด็กๆหยุดชั่วขณะก่อนที่จะพูดหรือตอบสนองออกไป อาจเป็นการถามคำถามโต้ตอบไปมาเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆชอบ เช่น หนังสือ ของเล่น อาหาร แล้วเวลาที่เด็กๆจะตอบอาจให้เด็กๆหยุดคิดก่อน แล้วค่อยๆตอบออกมา

8.เชื่อมั่นในตัวเด็กๆ : เชื่อว่าอาการสมาธิสั้นของเด็กๆจะดีขึ้นหรือหายได้ ให้กำลังใจเด็กๆและชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อมีพฤติกรรมดี

9.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ : อย่าลืมว่าเราไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด การปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักกิจกรรมบำบัดเพื่อหาแนวทางในการดูแลเด็กๆสมาธิสั้น เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆมีอาการที่ดีขึ้นหรือหายได้ ปัจจุบันการฟื้นฟูอาการสมาธิสั้นมีหลากหลายวิธี ทั้ง การให้ยา ทำกิจกรรมบำบัด TMS และการใช้เทคโนโลยีนูโรฟีคแบค (Neurofeedback) ก็ช่วยพัฒนาอาการให้ดีขึ้นได้

10.ควรมีเวลาพัก : เวลาพักเป็นสิ่งสำคัญทั้งกับตัวเด็กๆเองและผู้ปกครอง อาจจะไปเดินเล่น กินขนม ออกกำลังกาย หรือ อยู่กับตัวเองตามลำพัง ก็ช่วยเติมพลังให้กลับมาได้เช่นกัน

11.จัดการอารมณ์ตัวเอง : ทุกครั้งที่เด็กๆทำให้โกรธ โมโห ผู้ปกครองไม่ควรระเบิดอารมณ์หรือใช้ความรุนแรงกับเด็กๆ เพราะจะทำให้เด็กๆเลียนแบบพฤติกรรม พยายามสงบสติอารมณ์ รวบรวมความคิดก่อนที่จะพยายามพูดหรือสอนเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆสงบลง และหากสิ่งที่เด็กๆทำเป็นสิ่งที่ไม่ดีอาจมีการลงโทษหรืองดการให้รางวัลกับเด็กๆเพื่อลดพฤติกรรมไม่ดี


👍หากชอบ ฝากกด Like กด Share บทความให้สักนิด
แต่หากชอบมากๆ กด Like และกดติดตามเพจเพิ่มเติมตามนี้ให้ด้วยนะ
…​
​ติดตามและอัพเดตข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ตามช่องทางอื่นๆ
🌐Website : www.neurobalanceasia.com
🌈Instagram : instagram.com/Neurobalance
🧩Twitter : twitter.com/Neurobalance2
🆕Blockdit : blockdit.com/Neurobalance
🙏แล้วทุกคนจะไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และกิจกรรมดีๆ จากทุกช่องทาง)