fbpx
พฤติกรรมแบบนี้กำลังบอกอะไร
พฤติกรรมเหล่านี้กำลังบอกอะไรกับเรา ?🤔
ระบบประสาทรับความรู้สึก (SI ; Sensory Integration) คือ กระบวนการทำงานของ “สมอง”ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ที่ได้รับจากสิ่งเร้าต่างๆ ที่กระตุ้นร่างกายผ่านทางระบบประสาทรับความรู้สึก ทั้ง 7 และแสดงออกมาในรูปของ “พฤติกรรม” โดยที่ในแต่ละวันสมองจะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ อาจจะเร็วบ้างช้าบ้าง ปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้เกิดความสมดุล
👉ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 7 ประเภท ประกอบด้วย
-การมองเห็น (Visual System)
-การได้ยิน (Auditory System)
-การรับสัมผัสทางผิวหนัง (Tactile System)
-การได้กลิ่น (Olfactory System)
-การรับรส (Gustatory System)
-การรับรู้การทำงานกล้ามเนื้อผ่านเอ็น/ข้อต่อ(Proprioception)
-การทรงตัว (Vestibular)
ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 7 มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวัย 7 ปีแรก เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันนั้นต้องอาศัยการประสานงานกันของระบบรับความรู้สึกทั้ง 7 ประเภท หากระบบนี้ทำงานได้ดีจะส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว,การทรงตัว,กล้ามเนื้อ,ภาษา,อารมณ์, การรับรู้เรียนรู้ และการเข้าสังคม
ซึ่งหากเกิดความบกพร่องหรือไม่สมดุลของระบบประสาทรับความรู้สึก ทำให้เกิด ภาวะ SID (Sensory Integrative Dysfunction)
หรือ ภาวะที่เด็กมีปัญหาในการรับข้อมูลความรู้สึก เนื่องจากสมองมีการแปลและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับผ่านระบบประสาทรับความรู้สึกทั้ง 7 ประเภท ผิดพลาด ก่อให้เกิดความไม่สมดุล ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และพัฒนาการด้านต่างๆ ภาวะ SID สามารถเป็นได้หลายอาการร่วมกัน พบได้ในเด็กทั่วไป และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น สมาธิสั้น (ADHD) ออทิสติก (ASD) พัฒนาการช้า และ ความบกพร่องในการจัดการประสาทรับความรู้สึก (Sensory Processing Disorder)
👉“ภาวะ SID” สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.รับความรู้สึกช้าต่อสิ่งเร้า (Hyposensitivity)
2.รับความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้า (Hypersensitivity)
เรามาดูพฤติกรรมที่เกิดจาก “ภาวะ SID” พร้อมกับกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกทั้ง 7 กันดีตามนี้เลย👇
✅ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >> https://neurobalanceasia.com/atec/
📍อ่านข้อมูลเพิ่มเติมวิธีการพัฒนาอาการต่างๆ เหล่านี้ ได้ที่
>> ออทิสติก (ASD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/asd
>> สมาธิสั้น (ADHD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/adhd
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/ld
👍หากชอบ ฝากกด Like กด Share บทความให้สักนิด
แต่หากชอบมากๆ กด Like และกดติดตามเพจเพิ่มเติมตามนี้ให้ด้วยนะ
…​
​ติดตามและอัพเดตข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ตามช่องทางอื่นๆ
🙏แล้วทุกคนจะไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และกิจกรรมดีๆ จากทุกช่องทาง)