เครียด (Stress)
นิวโรฟีดแบคสามารถช่วยลดความเครียดได้ไหม ?
เราสามารถใช้นิวโรฟีดแบคในการช่วยลดความเครียดได้ โดยหลักการของวิธีการนี้จะสามารถลดความเครียดได้ในสองลักษณะ
- ช่วยลดอาการและสาเหตุของอาการเครียด
- ช่วยพัฒนาระบบประสาทให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเครียด
เพราะความจริงนั้น ความเครียดไม่ได้มีหน่วยชี้วัดโดยตรง นิวโรฟีดแบค Neurofeedback ไม่ได้มาแก้ปัญหาความเครียด แต่ไปช่วยลดอาการและสาเหตุหลัก (Root Cause) ที่ทำให้เกิดความเครียด อย่างเช่นความวิตกกังวล ดังนั้นนักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่าถ้าหากเราสามารถใช้วิธีการนี้ไปช่วยแก้สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเครียด อาการเครียดก็จะไม่เกิดนั่นเอง ในปี ค.ศ. 1978 ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาของการใช้ นิวโรฟีดแบคในการลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะความเครียดสูง
ในผลวิจัยนี้ได้มีการศึกษาถึงผลของการมีความวิตกกังวลมากที่ส่งผลให้มีความเครียดในระดับสูง จนทำให้มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ผลของวิจัยนั้นได้แสดงชัดเจนว่าวิธีการ Neurofeedback ได้สามารถช่วยทำให้ผู้เข้ารับการฝึกมีอาการวิตกกังวลน้อยลง และทำให้ความเครียดลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
อาการเครียดคืออะไร ?
ในสังคมโลกที่วุ่นวายในปัจจุบัน ความเครียดได้เป็นศัพท์ที่หลายคนคงได้ยิน และ ประสบกับตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ความเครียดถ้าจะอธิบายได้ง่ายที่สุดคือการที่เรารับรู้และตอบสนองกับ แรงกดดันหรือการแข่งขันต่างๆ ในทุกบริบทในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสัมพันธ์ งานที่ออฟฟิส การเรียนหนังสือ สุขภาพ หรือ การเงิน ความเครียดนั้นสามารถเป็นได้ทั้งแรงผลักดันและแรงกดดัน ขึ้นอยู่กับวิธีการรับมือและบริหารความเครียดของบุคคลนั้นๆ
ประเภทของความแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก
ความเครียดแบบฉับพลัน (Acute Stress) คือ สถานการณที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและเกิดการตอบสนองต่อสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นอย่างทันท่วงที สภาพความเครียดแบบนี้จะเป็นช่วงสั้น ๆ เพราะร่างกายจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยอัตโนมัติ
ความเครียดแบบเรื้อรัง (Chronic Stress) คือ สภาวะที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆมาเป็นระยะเวลานาน เกิดการสะสมยากที่จะกำจัดออกไป จนทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยอัตโนมัติ ความเครียดในลักษณะนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ บุคลิกภาพ และก่อให้เกิดความเจ็บป่วยต่างๆตามมาได้
ร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อความเครียด ?
เมื่อเรามีความเครียด แต่ละคนก็จะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกัน เราควรมองเห็นและระบุอาการที่จะก่อให้เกิดความเครียดตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหาทางรับมือให้ทันท่วงที ผลกระทบของความเครียดนั้นสามารถมีผลต่อระบบต่างๆ ทั้งในร่างกายและระดับประสาท ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม ความคิด และการทำงานของร่างกาย และแสดงออกมาในด้านต่างๆดังนี้
แนวทางในการจัดการความเครียด
เบื้องต้นวิธีการที่เราสามารถใช้ได้ในการจัดการความเครียดนั้น คือ การป้องกัน เราควรพยายามที่จะเรียนรู้สัญญานของสาเหตุในการเกิดความเครียด เมื่อมีสัญญานดังกล่าวอย่างน้อยเราได้รู้ว่าความเครียดนั้นอาจเกิดขึ้นได้ และรับมือบริหารความเครียดเหล่านั้นได้แต่เนิ่นๆ เมื่อเรารู้ว่าเริ่มมีความเครียดเราอาจเลือกที่จะ พูดคุยกับผู้อื่น หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ ทำสมาธิ ออกกำลังกาย เป็นต้น วิธีการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาและลดแรงกดดันที่จะนำพาไปสู่ความเครียดได้ แต่ในบุคคลที่มีความเครียดสูง และไม่สามารถบริหารความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ อาจจะต้องมีการใช้วิธีการอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น พบจิตแพทย์ นักพูดบำบัด หรือ รับประทานยา เป็นต้น
ความเครียด กับ นิวโรฟีดแบค Neurofeedback (EEG Biofeedback)
อีกหนึ่งวิธีการทางเลือกที่สามารถลดความเครียดและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดโดยไม่ใช้ยาคือ วิธีการ นิวโรฟีดแบค นิวโรฟีดแบคได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งตัวช่วยที่จะสามารถทำให้ความเครียดลดลงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่เข้าร่วมการฝึกในงานวิจัย หรือ คนที่เข้ารับการฝึกในรูปแบบนี้ทั่วโลก วิธีการนี้จะช่วยฝึกฝนระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดในหลากหลายรูปแบบ เมื่อผู้รับการฝึกสามารถเรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย และ กังวลน้อยลง อาการต่างๆที่ทำให้เกิดความเครียดก็จะลดลงตามไป
ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของวิธีการได้ที่
หากท่านมีความสนใจในวิธีการนี้และอยากรู้ว่าผู้ที่มีความเครียด (Stress) จะสามารถตอบสนองกับวิธีการนี้ได้ดีหรือไม่ ผู้สนใจสามารถนัดเข้ามารับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี จากผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดใดๆ เบอร์ติดต่อ 02 245 4227 หรือ LINE: @neurobalance