fbpx

อาการซึมเศร้า (Depression)

EEG Biofeedback สามารถช่วยฟื้นฟูอาการซึมเศร้าได้ไหม ?

อาการซึมเศร้านั้นเป็นอาการที่ EEG Biofeedback หรือ Neurofeedback สามารถแก้ไขได้ อ้างอิงจากผลวิจัยในปี 2005

Hammond, D. Corydon. “Neurofeedback treatment of depression and anxiety.” Journal of Adult Development 12.2-3 (2005): 131-137

80% ของผู้เข้ารับการพัฒนาด้วยวิธีการ Neurofeedback มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเห็นการพัฒนาได้ชัดเจนในผู้ที่มีสาเหตุจากความเครียดหรือการใช้ชีวิตที่ผิดปกติ วิธีการพัฒนารูปแบบใหม่นี้จะปราศจากการใช้ยาหรือสารกระตุ้นที่เข้าไปในร่างกาย และให้ผลระยะยาวกับผู้เข้ารับการพัฒนา

ในปี 2013 ที่โรงพยาบาล John Hopkins ในสหรัฐอเมริกาได้นำเครื่องมือ EEG Biofeedback (Neurofeedback) มาพัฒนาผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและได้ผลเป็นที่หน้าประทับใจ หลังพบว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีอารมณ์ในด้านบวกมากขึ้นและสามารถบริหารจัดการความเครียดด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการซึมเศร้าคืออะไร ?

เรามาทำความรู้จักกับ อาการซึมเศร้ากันดีกว่า อาการซึมเศร้าถือว่าเป็นอาการทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศและทุกช่วงอายุ ซึ่งสาเหตุการเกิดภาวะนี้มาได้จากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะมาจากการสูญเสีย มรสุมชีวิต ปัญหาความขัดแย้ง ฯลฯ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถจัดการบริหารความเครียดและความเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะซึมเศร้าก็เข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดและการดำเนินชีวิตของเราได้ อย่างเช่นรู้สึก หมดหวัง ท้อแท้ เศร้า อยากร้องไห้ตลอดเวลา ไม่อยากพูดคุยกับผู้อื่น

การเกิดภาวะซึมเศร้านั้นมีสาเหตุและปัจจัยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ สภาพสังคมที่อยู่ หรือ แม้กระทั่งความผิดปกติด้านชีววิทยาเช่น ความผิดปกติของการทำงานในสมอง สารสื่อประสาท หรือ วงจรระบบประสาททำงานบกพร่อง อาการซึมเศร้านั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่จากการศึกษาคาดว่าเป็นผลมาจากหลายๆปัจจัยร่วมกันอ้างอิงจาก DSM-5 หรือ The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับที่ 5 ซึ่งใช้เป็นแนวทางมาตรฐานในการเรียกชื่อ อาการ และใช้วิเคราะห์ภาวะทางจิตเวช ได้แบ่งชนิดของภาวะซึมเศร้าเป็น ชนิดหลักๆด้วยกัน คือ Major Depressive Disorder (ซึมเศร้าแบบรุนแรง) และ Persistent Depressive Disorder (Dysthymia) หรือ ซึมเศร้าแบบเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มีอาการคล้ายเคียงกัน ส่วนใหญ่ภาวะซึมเศร้าแบบเรื้อรังจะมีอาการที่เบากว่าแบบรุนแรง แต่จะมีอาการที่นานกว่าอย่างน้อย 2 ปี อาการต่างๆ ที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักประสบได้แก่

อาการของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
รู้สึกหดหู่ ว่างเปล่า ไร้ความหวัง ในทุกๆวัน
รู้สึกตนเองไม่มีค่า
โทษตนเองตลอดเวลาและรู้สึกผิดต่อการกระทำเรื่องต่างๆในชีวิต
ไม่มีสมาธิที่จะจดจ่อ และ ความสนใจกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่
แยกตัวออกจากผู้อื่น และ สังคม
กระวนกระวายใจ วิตกกังวล
ความสามารถในการตัดสินใจลดน้อยลง
รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยกับสิ่งที่ทำอยู่
นอนน้อยหรือมากกว่าปกติ
มีปัญหากับผู้อื่น คิดว่าไม่มีใครเข้าใจ
มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

การแก้ไขภาวะอาการซึมเศร้า

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่าในปี 2020 อาการซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นทุกคนควรตระหนักและทำความเข้าใจกับอาการนี้ให้มากยิ่งขึ้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าปัจจัยกระตุ้นในการทำให้คนมีอาการซึมเศร้านั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนั้นวิธีการแก้ไขหลักๆ จึงมีหลายวิธีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยา ไปพบจิตแพทย์ นักจิตบำบัด หรือ แก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ถือเป็นวิธีแรกๆที่ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าเลือกนำมาแก้ไขเมื่อตนเองพบว่ามีอาการ ในปัจจุบันได้มีการนำวิธีการที่เรียกว่า Neurofeedback เข้ามาแก้ไขการทำงานที่บกพร่องของระบบประสาทภายในสมองซึ่งจากผลวิจัยพบว่าเป็นต้นเหตุหลักของการมีอาการซึมเศร้า

Neurofeedback กับอาการซึมเศร้า

ด้วยวิธีการของ Neurofeedback ที่สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางในสมองซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอาการซึมเศร้า ซึ่งหลักการของวิธีการนี้คือการปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทที่บกพร่องให้กลับมาทำงานปกติ ในการทำงานของสมองนั้นไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การเรียนรู้ หรือการทำกิจกรรมต่างๆ นั้นล้วนสั่งงานจากสมองโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่าคลื่นสมองในช่วงความถี่ต่างๆ เมื่อคลื่นสมองทำงานบกพร่อง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร แน่นอนว่าระบบต่างๆ ย่อมทำงานบกพร่องด้วยเช่นกัน เช่น มีความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น ไม่สามารถบริหารความเครียด และ อารมณ์ได้ดีเท่าที่ควร มีความจำที่ไม่เป็นระบบ และ ฯลฯ  ดังนั้นด้วยวิธีการ Neurofeedback นี้จึงเข้ามามีส่วนเสริมและเป็นตัวช่วยในการปรับการทำงานของคลื่นสมองให้มีความปกติมากยิ่งขึ้น (optimal) ระหว่างการฟื้นฟู สมองจะเรียนรู้การทำงานที่ปกติมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อาการต่างๆที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าลดน้อยลง ผู้เข้ารับการบริการส่วนใหญ่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งในด้านอารมณ์ ความเครียด ความวิตกกังวลใน 4-8 ครั้งหลังเข้ารับการฟื้นฟู และอย่างที่ทราบกันดีวิธีการนี้ไม่มีการใช้ยาหรือสารตุ้นใดๆ จึงไม่มีผลข้างเคียงอันตรายแก่ผู้เข้ารับบริการ

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของวิธีการได้ที่

โปรแกรม Neuro Balance

โปรแกรม Bio Balance

ทาง Neurobalance ยินดีที่จะให้คำปรึกษาและคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ

หากมีข้อสงสัยหรือคำถามในตัววิธีการของ Neurobalance สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่เบอร์ 02 245 4227 หรือ LINE: @neurobalance, ผู้สนใจสามารถนัดเข้ามารับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ ข้อผูกมัดใดๆ