อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)
คุณกำลังเผชิญกับอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า ?
✓ หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้
✓ เบลอ คิดอะไรไม่ออก ไม่ค่อยมีสมาธิ
✓ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่นร่าเริง
✓ มีอาการง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในตอนกลางคืน
✓ นอนหลับๆ ตื่นๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก
✓ มีความต้องการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพื่อช่วยให้รู้สึกสดชื่น
✓ เกิดอาการงีบหลับสั้นๆ หรือที่เรียกว่า “หลับกลางอากาศ” หรือ “หลับใน”
ถ้าคำตอบของคุณคือ “ใช่” อย่างน้อย 2-3 อาการ นั่นอาจเป็นผลมาจาก “การนอนไม่หลับ หลับยาก หรือ หลับไม่สนิท” ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาปัญหาของการนอนหลับ (Sleeping issues) โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากสุดในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) นอกจากจะส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการดังที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีรายงานการวิจัยระบุว่าผู้ที่นอนไม่หลับมีโอกาสที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาการนอนหลับประมาณ 2 เท่า (Schwartz, Anderson, Cole, Cornoni-Huntley, Hays & Blazer, 1999)
นอกจากนี้ขณะที่ร่างกายของเราหลับ สมองของเราก็ยังทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา คอยกำจัดของเสียที่เรียกว่า Amyloid-beta ออกไปจากสมอง ทำให้มีสุขภาพสมองที่ดี ซึ่งในช่วงเวลาที่หลับสมองจะกำจัดของเสียได้เร็วมากกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ ซึ่งหากเรามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ทำให้สมองมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการของเสีย เกิดการสะสมของเสีย หรือ Amyloid-beta ในปริมาณมากในสมอง ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคสมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ได้
สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ พบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
– สภาวะอารมณ์
– อาการเจ็บป่วยหรือความไม่สบายทางร่างกายและจิตใจ
– สิ่งแวดล้อม
– การใช้ยา สารกระตุ้นประสาท หรือสารเสพติดบางชนิด
– เหตุการณ์ในชีวิต
– อายุ เพศ
– วิถีการใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอน
– หน้าที่การงาน
– ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง
ประเภทของอาการนอนไม่หลับ
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 – อาการนอนไม่หลับแบบชั่วคราว : เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน แต่ไม่ถึงสัปดาห์ พบอาการในลักษณะอย่างนี้ได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวัน หรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่
ระยะที่ 2 – อาการนอนไม่หลับในระยะสั้น : เกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นยังไม่คลี่คลายหรือหายไป
ระยะที่ 3 – อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง : เกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง เป็นเดือนหรือเป็นปี อาการในลักษณะแบบนี้อาจเป็นผลจากการใช้ยา การเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่ว่าจะทางกาย หรือทางจิตใจ หรือเกิดขึ้นแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ
แนวทางการรักษาและบำบัดอาการนอนไม่หลับ
1. การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยตัวเอง คือ ฝึกการเข้านอนให้เป็นเวลา , นอนหลับให้เพียงพอตามวัย , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ , หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสารเสพติด , หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน , ลดความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน (มองโลกในแง่ดี, เข้าใจชีวิต,รู้จักการปล่อยวาง)
2. การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยยา โดยแพทย์จะวินิจฉัยความรุนแรงของอาการและจะพิจารณาเลือกชนิดยาให้เหมาะสมกับอาการหรือภาวะนั้นๆ เช่น การใช้ยาใน กลุ่มเมลาโทนิน (Melatonin) , กลุ่ม Benzodiazepines หรือยานอนหลับที่มีฤทธิ์ช่วยคลายเครียด คลายกล้ามเนื้อ การใช้ยาต้านเศร้าหรือยารักษาอาการทางจิต (Antipsychotics) ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับลึกและยาวนานมากขึ้น
3. การบำบัดและการรักษาทางการแพทย์ ประกอบด้วยการวัดระดับความรุนแรงของอาการด้วยเครื่องมือและแบบทดสอบทางการแพทย์ การให้คำปรึกษา การบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)
EEG Biofeedback สามารถจัดการกับอาการนอนไม่หลับได้จริงหรือไม่?
EEG Biofeedback หรือ Neurofeedback ถือเป็นหนึ่งวิธีการทางเลือกที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยบำบัดและฟื้นฟูความผิดปกติของการนอนหลับ โดยจะช่วยลดอาการนอนไม่หลับพร้อมกับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่ออาการนอนไม่หลับ เช่น ภาวะตื่นตัว วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการนอนหลับไม่ปกติ
หลักการของวิธีการนี้คือการปรับรูปแบบการทำงานของสมองให้มีความปกติมากที่สุดโดยเริ่มจากการตรวจจับคลื่นความถี่สมองหรือ EEG และนำมาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพเพื่อแสดงผลการทำงานของสมองในแต่ละตำแหน่ง หลังจากที่ทราบจุดที่ทำงานผิดปกติ โปรแกรมจะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมแก่การปรับสมดุลของบุคคลที่เข้ารับการบริการรายนั้นๆ ด้วยความสามารถของสมองที่สามารถจัดระเบียบการเชื่อมต่อและการทำงานใหม่ได้ด้วยตัวเอง เมื่อสมองของผู้เข้ารับบริการได้ทำการฝึกซ้ำๆ สมองจะเรียนรู้ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพและปกติยิ่งขึ้น อาการต่างๆที่มาจากการเชื่อมต่อของระบบประสาทสมองที่ผิดปกติก็จะถูกแก้ไข
จากบทความวิชาการ “Behavioral techniques and biofeedback for insomnia” นำเสนอว่าวิธีการ Biofeedback เป็นวิธีนึงที่ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อาการนอนไม่หลับ หลังจากผู้ที่เข้ารับการฝึกจาก Biofeedback สามารถนอนหลับได้ลึกและนานขึ้น มากไปกว่านั้นผู้เข้ารับการฝึกมีอารมณ์ที่ดีขึ้นเกิดจากความเครียดและวิตกกังวลที่น้อยลง
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับอย่างมีประสิทธิภาพสามารถติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02 245 4227 หรือ LINE: @neurobalance ผู้สนใจสามารถนัดเข้ามารับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ ข้อผูกมัดใดๆ