อาการวิตกกังวล (Anxiety)
เมื่อเราต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย หรือเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดอาการวิตกกังวล เครียด กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนก หรือ เกิดความกลัว ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นกลไกการปรับตัวต่อการเผชิญกับเหตุการณ์หรือสิ่งเร้า (Adaptive response) เพื่อให้เราเตรียมตัวหาทางหรือวิธีรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการทำงานของกลไกนี้มี “สมอง” เป็นตัวกลางสำคัญในการควบคุม
“อาการวิตกกังวล” เป็นหนึ่งในกลไกการตอบสนองของร่างกายและจิตใจอย่างหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ถ้าอยู่ในระดับเล็กน้อยและปานกลาง ช่วยให้เรามีความกระตือรือร้น ตื่นตัว และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง แต่อาการวิตกกังวลในระดับที่รุนแรงหรือมากเกินไป ก็ส่งผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
อาการวิตกกังวลที่มากเกินไป มักมีลักษณะอาการดังนี้
– มีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น
– มีอาการเป็นอยู่นานเกินไปหรืออาการที่เกิดขึ้นยังคงอยู่แม้สิ่งกระตุ้นหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ผ่านไปหมดแล้ว
– อาการที่เป็นอยู่ ส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น และรบกวนกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างเพื่อลดความวิตกกังวล
โดยอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการทำงานของ “ระบบประสาทอัตโนมัติ” และ “ต่อมไร้ท่อ” ซึ่งจะแสดงออกทางด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ดังนี้
การแสดงออกทางด้านร่างกาย (Physiology manifestation) | การแสดงออกทางด้านจิตใจ (Psychosocial manifestation) |
---|---|
สาเหตุของอาการวิตกกังวล
สาเหตุของการเกิดอาการวิตกกังวลนั้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะมาจาก พันธุกรรม, เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ, บุคลิกภาพ, สภาพแวดล้อม, ปัญหาด้านสุขภาพ หรือ ความผิดปกติในระบบประสาทและโครงสร้างของสมอง ดังนั้นหากเราสามารถควบคุมและบริการจัดการอารมณ์วิตกกังวลได้เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นต่างๆ ก็คงจะดีไม่น้อย ในปัจจุบันแนวทางการรักษาอาการวิตกกังวลนั้นมีหลากหลายวิธี
แนวทางการแก้ไขอาการวิตกกังวล
– การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy หรือ CBT) หรือ ที่เรียกว่า “การบำบัดโดยการพูดคุย” หรือการให้คำปรึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางแก้ไขและจัดการกับอารมณ์ในทางลบของมนุษย์ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด (cognitive) และพฤติกรรม (behavioral) การบำบัดมีลักษณะเน้นที่ปัจจุบัน เจาะจงปัญหาที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดอย่างเป็นรูปธรรม เน้นความร่วมมือของผู้รับการบำบัดเพื่อนำไปสู่การฝึกฝนทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองให้ได้ดียิ่งขึ้น
– การใช้ยาเพื่อรักษาอาการวิตกกังวล (Medications) ในผู้ที่มีอาการรุนแรงบางราย อาจต้องใช้ยาเข้ามาช่วยด้วย เช่น ยาคลายกังวล ยาต้านเศร้า ยาช่วยควบคุมอาการทางร่างกายเมื่อมีความวิตกกังวล เช่น ใจสั่น มือสั่น หรือยาอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรคลมชัก และยาระงับอาการทางจิต
– การปรับด้วยวิธีการ Neurofeedback ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาวิตกกังวลและต้องการลดอาการเหล่านี้โดยไม่ประสงค์ที่จะใช้ยา หรือการถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หากจะอธิบายวิธีการของ Neurofeedback นั้น สามารถมองได้ว่าคือการสอนสมองให้จัดเรียงรูปแบบการเชื่อมต่อในการสื่อสารของระบบไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น โดยโปรแกรมฝึกจะถูกสร้างขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบกิจกรรมสมองของบุคคลนั้นๆ เมื่อสมองสามารถทำงานได้มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ตามมาก็จะส่งผลให้ อาการวิตกกังวลน้อยลง, ไม่คิดมาก, คิดเป็นระบบมากขึ้น, การเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ลดลง, นอนหลับลึกขึ้น, สารสื่อประสาทในสมองมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือสามารถควบคุมตัวเองได้เมื่อเผชิญกับสภาวะหรือแรงกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล
วิธีการ Neurofeedback ได้นำมาใช้กับผู้ที่มีอาการวิตกกังวล และได้ศึกษาพบว่าวิธีการนี้สามารถช่วยลดอาการวิตกกังวล และ ซึมเศร้าได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ท่านสามารถอ่านงานวิจัยนี้ได้ที่
ศูนย์ Neurobalance ได้ผสานวิธีการของ Neurofeedback และ เทคโนโลยีที่ปรับสมดุลร่างกายและสมองแบบองค์รวม เพื่อมาช่วยในการแก้ไขอาการวิตกกังวล ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของวิธีการที่ทางศูนย์นำมาให้บริการได้
โปรแกรม Neuro Balance
โปรแกรม Bio Balance
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังมองหาทางเลือกใหม่ในการแก้อาการวิตกกังวลอย่างมีประสิทธิภาพสามารถติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02 245 4227 หรือ LINE: @neurobalance ผู้สนใจสามารถนัดเข้ามารับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ ข้อผูกมัดใดๆ